ออกแบบตัวการ์ตูน แลนด์มาร์คอิตาลี ด้วย สีน้ำ Master Art

ออกแบบตัวการ์ตูน แลนด์มาร์คอิตาลี ด้วย สีน้ำ Master Art

5 Steps ออกแบบตัวการ์ตูน ระบายสีน้ำสนุกกับ “คาแรคเตอร์แลนมาร์ค” 

Level : Medium

ออกแบบตัวการ์ตูน แลนด์มาร์คอิตาลี ด้วย สีน้ำ Master Art

                งาน ออกแบบตัวการ์ตูน คาแรคเตอร์เป็นงานศิลปะที่มีเสน่ห์ มีความสนุกในชิ้นงาน เพราะทุกตัวที่ออกแบบมาคือคาแรคเตอร์ที่แตกต่างไม่มีซ้ำกัน และเติมความสนุกในการใช้สีสันได้ด้วยเทคนิคสีที่หลากหลาย สำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึงการ ออกแบบตัวการ์ตูน คาแรคเตอร์ด้วยต้นแบบที่มีความยิ่งใหญ่อลังการ เป็นที่จดจำไปทั่วโลก นั่นก็คือ“โคลอสเซียม” แลนมาร์คสำคัญของประเทศอิตาลี 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก สนามกีฬารูปทรงกลมสร้างมาตั้งแต่ยุคโรมัน
เลือกใช้จุดน่าสนใจที่โดดเด่นของสถานที่ มา ออกแบบตัวการ์ตูน เป็นคาแรคเตอร์ตัวใหม่ เติมสีสันของภาพให้น่าสนใจขึ้นด้วยเทคนิคสีน้ำ โดยใช้สีน้ำมาสเตอร์อาร์ต ให้เนื้อสีสด สวย เนียนละเอียด เข้มข้น พิเศษด้วยบรรจุภัณฑ์หลอดลามิเนต ลักษณะคล้ายหลอดยาสีฟัน บีบใช้งานง่าย หลอดแข็งแรง ไม่รั่วซึม และที่สำคัญมีความปลอดภัยกับผู้ใช้ ไร้สารตะกั่ว มาติดตามกันว่าเราจะดึงจุดเด่นตรงไหนของแลนด์มาร์คแห่งนี้ออกมาวาดภาพกัน ไปติดตามกันเลย

อุปกรณ์
1. สีน้ำ Master Art
2. กระดาษวาดรูปสำหรับสีน้ำ
3. พู่กัน จิตรกรน้อย แบบกลม เบอร์ 2/6/12
4. ดินสอ

Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

เลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับสีน้ำ พร้อมเช็กโปรโมชั่นที่ Stationerymine คลิกเลย!

คลิกซื้อสินค้าที่ Stationerymine
Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

Step 1
หลักการที่ใช้สำหรับการ ออกแบบตัวการ์ตูน คาแรคเตอร์เหมือนกัน คือ การใช้จุดเด่นของต้นแบบมาเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบ สำหรับบทความนี้ต้นแบบคาแรคเตอร์ที่เลือกมาเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของอิตาลี อย่าง“โคลอสเซียม”สนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่รูปทรงกลม
อ้างอิงจากสนามกีฬาที่มีความแข็งแกร่ง จึงออกแบบมาเป็นคาแรคเตอร์ผู้ชาย ดึงเอารูปทรงกลมของสนามกีฬามาใช้เป็นหมวก และใช้ดีไซน์ของช่องหน้าต่างที่มีอยู่รอบโคลอสเซียมมาวาดเป็นลวดลายเสื้อของตัวคาแรคเตอร์ นอกจากการใช้จุดเด่นของแลนด์มาร์คแล้ว เพื่อสื่อสารได้ชัดเจนถึงประเทศอิตาลี เราสามารถเลือกองค์ประกอบอื่นที่เป็นจุดเด่น อย่างสีของธงประจำชาติ คลองเวนิส และเรือกอนโดลา(Gondola)มาใช้เป็นองค์ประกอบในภาพด้วย
รวบรวมองค์ประกอบของภาพทั้งหมด จัดองค์ประกอบให้สวยงาม และร่างขึ้นมาด้วยดินสอ ได้เป็นคาแรคเตอร์เด็กผู้ชายร่าเริง กำลังล่องเรือเรือกอนโดลา(Gondola)ในคลองเวนิส สวมชุดเสื้อลายโคลอสเซียม คลุมด้วยเสื้อแจ็กเกต สวมหมวกรูปทรงโคลอสเซียม

Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

Step 2
ชิ้นงานนี้เลือกใช้สีน้ำมาสเตอร์อาร์ตในการเติมสีสันให้กับผลงาน สามารถเลือกใช้สีน้ำระบายได้ตามชื่อที่ระบุได้เลย ส่วนแรกที่เลือกลงสีคือ ส่วนพื้นหลังอย่างท้องฟ้า น้ำในคลองเวนิส ด้วยเทคนิคแห้งบนเปียก เป็นการใช้พู่กันจุ่มน้ำระบายลงบนกระดาษไปก่อน ตามด้วยพู่กันจุ่มสีเพียงเล็กน้อยระบายทับพื้นที่เปียกน้ำอย่างรวดเร็ว สำหรับเทคนิคสีน้ำนี้นิยมใช้ในการระบายสีท้องฟ้า ต้นไม้
สีที่เลือกใช้สำหรับการระบายท้องฟ้า และพื้นของผิวน้ำ คือ สี Cobalt Blue ส่วนพื้นหญ้าเลือกใช้สี Yellow Green ในการระบายสีอ่อนด้วยเทคนิคเดียวกัน หลังจากนั้นเติมสีที่เข้มขึ้นในพื้นที่ต้นไม้ด้วยสี Viridian และจุดที่เกิดเงาของโคลอสเซียมด้วยสี Prussian Blue
ในขั้นตอนนี้ สามารถลงสีตัวอักษร “ITALY” ได้เลย โดยใช้สีอ้างอิงจากสีธงของประเทศอิตาลี 3 สีด้วยกัน คือ แดง ขาว และเขียว โดยใช้สี Red, Yellow, Green ในการระบายและเว้นพื้นสีขาวไว้ ในส่วนของพื้นที่สีขาว

Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

Step 3
เป็นขั้นตอนของการลงรายละเอียดสีของพื้นหลังจุดต่างๆโดยตัว“โคลอสเซียม” และสะพาน ผิวน้ำ รวมไปถึงเงาของคนพายเรือกอนโดลา(Gondola)ที่เห็นในระยะไกลใช้สีเดียวกันในการระบายคือ สี Prussian Blue และเติมเงาเข้มขึ้นในจุดที่แสงเข้าไม่ถึงด้วยสี Black โดยผสมน้ำในปริมาณมากเพื่อให้น้ำหนักสีเบาลง และพื้นหญ้า สามารถเติมเงาให้ภาพมีมิติขึ้นด้วยสี Black ได้เช่นกัน
เสร็จจากภาพพื้นหลัง มาเก็บรายละเอียดของภาพในระยะด้านหน้าที่มีเรือกอนโดลา(Gondola)จอดเทียบท่าอยู่ สำหรับสีของเสาบริเวณท่าเรือ เป็นลักษณะการไล่เฉดสีจากด้านล่างใช้สี Viridian ผสมกับสี Cobalt Blue และไล่ขึ้นไปด้านบน ใช้สี Violet หลังจากนั้นขยับออกมาที่ลำเรือผิวรอบนอกนั้น เลือกใช้เป็นโทนสีเทา ที่ถูกระบายผสมกันด้วย สี Prussian Blue ,สี Black และสี Violet เติมสีสันภายในเรือด้วยสี Red
จะเห็นได้ว่าบริเวณพื้นท่าเรือมีการเลือกเฉดสีที่หลากหลายในการระบายไม้แต่ละแผ่น บริเวณนี้สามารถเลือกผสมสีตามความชอบได้อย่างอิสระ อาจจะต้องดูโทนสีภาพรวมของภาพด้วยเพื่อให้อยู่ในโทนเดียวกัน ไม่โดดเด่นแยกกันจนเกินไป

Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่
Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

Step 4
บริเวณท่าเรือนั้น เลือกแบ่งโทนสีในการใช้เป็น 2 โทนด้วยกัน ตามระยะความใกล้และไกลในภาพ สำหรับภาพที่อยู่ในระยะไกลการเลือกลงสีใช้เป็นสีโทนเข้มที่ไม่ต้องลงรายละเอียดของภาพ ในลักษณะของเงา แต่สำหรับภาพในระยะใกล้ต้องลงรายละเอียดของภาพให้ครบถ้วน อย่างเช่นตัวอย่างในภาพนี้เสาบริเวณท่าเรือในระยะใกล้ เราเลือกใช้สีพื้นเป็นสีน้ำตาล Brown และระบายสีส่วนที่เป็นเงาให้มีมิติขึ้นด้วยสี Black และเลือกใช้สีเดียวกันนี้ในการระบายสีของไม้พายเรือด้วย รวมไปถึงเฉดสีเรือของตัวคาแรคเตอร์ บริเวณด้านนอกเลือกระบายเป็นริ้วโทนสีน้ำตาล เว้นพื้นขาว แต่บริเวณด้านในเลือกใช้โทนสีเดียวกับเสาท่าเรือ คือสีน้ำตาล Brown และระบายสีส่วนที่เป็นเงาให้มีมิติขึ้นด้วยสี Black
สังเกตสีผิวน้ำที่อยู่ในระยะใกล้จะใช้สีที่แตกต่างออกมาจากสีในระยะไกลเช่นกัน โดยเลือกใช้เฉดสีเขียว ผสมสี Viridian ผสมด้วยสี Black ระบายในลักษณะของผิวน้ำที่มีการเคลื่อนไหว

มาถึงการลงสีส่วนสำคัญที่สุดของภาพนี้แล้ว คือ ตัวคาแรคเตอร์ สีของเสื้อผ้าเลือกใช้อ้างอิงจากโทนของสีธง แดง ขาว และเขียว โดยใช้สี Red, สี Yellow Green โดยแยกรายละเอียดการเลือกใช้โทนสีตามนี้
– เสื้อคลุมโทนสีเขียวอ่อน เลือกใช้สี Yellow Green และสี Yellow Ochre พร้อมเติมแสงเงา และตัดเส้นด้วยสี Black
– กางเกงโทนสีเขียวเข้ม เลือกใช้สี Viridian และตัดเส้นด้วยสี Black
– ถุงเท้าใช้ครบทั้ง 3 สี คือ เขียว แดง ขาว สี Red, Yellow, Green

Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่
Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

Step 5
ส่วนเสื้อตัวด้านใน และหมวกซึ่งมีต้นแบบมาจาก “โคลอสเซียม” เลือกใช้โทนสีที่แตกต่างกัน สำหรับเสื้อเลือกใช้เป็นโทนสีน้ำตาลไล่เฉดไปที่สีเหลือง ใช้สี Brown และสี Lemon Yellow ส่วนพื้นที่สีเข้มตามจุดที่เป็นหน้าต่างใช้สี Black ผสมกับสี Brown มีส่วนปกที่เลือกตัดสีด้วยสี Red เพิ่มความโดดเด่น
ส่วนหมวกที่เหมือนยก“โคลอสเซียม”มาวางไว้เลย เลือกใช้โทนสีเทาและดำ สีที่ใช้ในการระบายและตัดเส้นคือสีดำ Black

เสร็จเรียบร้อยสำหรับการออกแบบและระบายสีน้ำบนตัวคาแรคเตอร์แลนด์มาร์คที่เราหยิบมาลองออกแบบกัน สำหรับใครอยากลองออกแบบตัวคาแรคเตอร์เป็นของตัวเอง ลองเลือกแลนด์มาร์คที่ตัวเองชอบ หรือมีความประทับใจเป็นพิเศษมาลองออกแบบ และลงสีกันดูนะครับ

Master Art สีน้ำ ระบายอิตาลี่

เลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับสีน้ำ พร้อมเช็กโปรโมชั่นที่ Stationerymine คลิกเลย!

คลิกซื้อสินค้าที่ Stationerymine

Facebook Comments